EN

ภาพสัญลักษณ์ สกสว.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)


สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

Thailand Science Research and Innovation (TSRI)

A- A A+
c c c
เข้าสู่ระบบ
  • จัดสรรงบประมาณ
    • เสนอคำขอจัดสรรงบประมาณ
    • ประกาศผลการจัดสรรงบประมาณ
    • หลักเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณ
    • การติดตามและประเมินผล
    • การจัดสรรงบประมาณกองทุนส่งเสริม ววน. ปี 2565
    • คลังคำศัพท์ในระบบ ววน.
  • ข่าวประชาสัมพันธ์
    • ข่าวประชาสัมพันธ์ สกสว.
    • ข่าวจากหน่วยงานภายนอก
    • ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
    • ข่าวรับสมัครงาน
  • แหล่งความรู้
  • รู้จัก สกสว.
    • รู้จัก สกสว.
    • ความเป็นมา
    • พระราชบัญญัติ กฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้อง
    • แผนกลยุทธ์ สกสว.
    • โครงสร้างองค์กร
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ อำนาจหน้าที่
    • ค่านิยมหลัก สกสว.
    • ตราสัญลักษณ์ สกสว.
    • คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.)
    • คณะกรรมการอำนวยการ สกสว.
    • คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการสนับสนุน ววน.
    • คณะผู้บริหาร สกสว.
    • ธรรมาภิบาลและความโปร่งใส
    • การดำเนินงานประจำปี
    • การใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
    • ข้อมูลที่สำคัญของ สกสว.
  • ติดต่อ สกสว.
c c c
เข้าสู่ระบบ
EN
A- A A+
banner image

Organization Structure of TSRI

  1. icon image
  2. icon image
  3. ABOUT TSRI
  4. icon image
  5. แผนผังโครงสร้างของ สกสว.

แผนผังโครงสร้างของ สกสว.

สกสว. มีกลยุทธ์ในการออกแบบโครงสร้างองค์กรใหม่ ยกระดับบุคลากรเพื่อให้มีความยืดหยุ่น ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและรองรับการทำงานร่วมกับหน่วยงานทุกภาคส่วนในระบบ ววน. การขับเคลื่อนนโยบายและบริหารกองทุนให้เกิดสัมฤทธิ์ผล

สกสว. ได้ใช้รูปแบบการบริหารจัดการสมัยใหม่ ที่เน้นกลไกการบริหารจัดการในรูปแบบ Agile Organization การขับเคลื่อนองค์กรด้วยความรวดเร็ว ทันต่อความเปลี่ยนแปลงและเปิดกว้าง โดยเน้นผู้รับบริการและเป้าหมายทางกลยุทธ์เป็นศูนย์กลาง รวมถึงพัฒนาให้มีกลไกการติดตามประเมินผลที่มีความชัดเจน มุ่งเน้นผลลัพธ์ในเรื่องที่มีความสําคัญและสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันทั่วทั้งองค์กร ทั้งนี้ สกสว. เชื่อว่าแผนกลยุทธ์ที่กําหนดไว้ จะมีส่วนในการขับเคลื่อนการพัฒนาด้าน ววน. ให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติและนําไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต่อไป

โครงสร้างองค์กร สกสว. รูปแบบ Matrix ส่งเสริมความเป็นองค์กรสมรรถนะสูง
  1. สำนักกลยุทธ์แผนและงบประมาณ (FB1) ประกอบด้วยภารกิจ ดังนี้
    • จัดทำ Foresight และ Scenario ในภาพรวมเพื่อประกอบการจัดทำแผน ววน.
    • จัดทำนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) แผน ววน. 5 ปี และแผนพัฒนาบุคลากรด้าน ววน. รวมถึงการปรับปรุงแผน rolling รายปี
    • จัดทำกรอบวงเงินงบประมาณรายปี และระบบริหารงบประมาณแบบบูรณาการเพื่อมุ่งหวังผลสัมฤทธิ์  (รวมถึง Multi Year – Block Grant)
    • กำหนดหลักเกณฑ์การจัดทำคำขอและจัดสรรงบประมาณ และเครื่องมือการวิเคราะห์คำขอเทียบกับแผนด้าน ววน.
    • จัดทำประกาศรับคำขอ จัดเวทีชี้แจงงบประมาณ
    • รับผิดชอบงานวิชาการและธุรการ และสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการพิจารณางบประมาณด้าน ววน.
    • จัดทำแผนปฏิบัติการด้าน ววน. ของกองทุน รวมถึงจัดเตรียมการชี้แจงงบประมาณต่อกรรมาธิการรัฐสภา
    • วิเคราะห์ความคุ้มค่าของการลงทุนด้าน ววน. – Ex Ante
    • ปรับปรุงการจัดสรรงบประมาณหากรัฐสภาปรับแก้ และปรับปรุงแผนปฏิบัติการด้าน ววน. รวมถึงแจ้งผลการจัดสรรงบประมาณไปยังหน่วยงานเป็นทางการ
    • จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย การริเริ่มโครงการสำคัญ ที่บูรณาการความร่วมมือของหลายภาคส่วน
    • วิเคราะห์ Reprograming ที่เป็นแผนงานจากฝ่ายนโยบาย (คณะรัฐมนตรี กสว. ฯลฯ) (Top Down)
    • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
  2. สำนักบริหารงบประมาณ ววน. (FB2) ประกอบด้วยภารกิจ ดังนี้
    • จัดทำแผนการจัดสรรงบประมาณในกองทุน เพื่อให้การจ่ายเงินกองทุนสำหรับระบบ ววน. ของประเทศ
    • ปรับแผนปฏิบัติการและแผนงบประมาณกองทุนให้ตรงกับพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปี
    • ประมวลและตรวจสอบแผนปฏิบัติการของหน่วยรับงบประมาณ
    • ออกแบบและจัดทำทำคำรับรองการปฏิบัติงานของหน่วยงานรับงบประมาณ
    • จัดทำระเบียบ หลักเกณฑ์ ที่เกี่ยวข้องกับการเบิกจ่ายเงินจากกองทุน การรับงบประมาณ การใช้จ่ายงบประมาณ
    • เบิกจ่ายงบประมาณให้หน่วยงาน
    • ปรับแผนปฏิบัติการ แผนการเบิกจ่าย คำรับรองการปฏิบัติงาน (เฉพาะหน่วยงานรับงบประมาณที่มีการขอ reprograming) และแผนประมาณระหว่างปีตามผลการ Reprogramming
    • รวบรวมการติดตามการใช้งบประมาณ และหนุนเสริมกลไกการบริหารงบประมาณของหน่วยรับงบประมาณในภาพรวม
    • รวบรวมและประเมินผลผลิต (output) ของการใช้งบประมาณในภาพรวม
    • รับผิดชอบงานธุรการของ กสว. ในส่วนการบริหารงบประมาณกองทุน
    • จัดทำรายงานการเงิน รายงานบัญชี และรายงานประจำปีของกองทุน
    • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
  3. สำนักติดตามและประเมินผล (FB3) ประกอบด้วยภารกิจ ดังนี้
    • สนับสนุนงานเลขานุการคณะกรรมการติดตามประเมินผลการสนับสนุนงบประมาณด้าน ววน.
    • ออกแบบและดูแลระบบติดตามและประเมินผลลัพธ์และผลกระทบของการสนับสนุนด้าน ววน.
    • ประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานในระบบ ววน. ที่รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนฯ และให้ข้อเสนอแนะ
    • พัฒนาและเผยแพร่ศาสตร์การประเมินผลลัพธ์และผลกระทบด้าน ววน.
    • พัฒนาและขับเคลื่อนเครือข่ายผู้ประเมินผลลัพธ์และผลกระทบด้าน ววน. ของประเทศ
    • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
  4. สำนักพัฒนาระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (FB4) ประกอบด้วยภารกิจ ดังนี้
    • วิเคราะห์และจัดทำรายงานสถานการณ์ ววน. ของไทยและโลก
    • จัดทำข้อเสนอการพัฒนาระบบ ววน. และหน่วยงานในระบบ ววน.
    • พัฒนารูปแบบกลไกการบริหารจัดการ ววน. และการส่งเสริมและพัฒนาหน่วยงานในระบบ ววน.
    • พัฒนารูปแบบ ส่งเสริมและเสนอมาตรการแรงจูงใจ ในการทำงานร่วมกันของภาครัฐ เอกชน ประชาสังคมในด้าน ววน. และการถ่ายทอดเทคโนโลยี
    • จัดทำกลยุทธ์การบริหารจัดการให้ผลงาน ววน. ส่งผลลัพธ์และผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศอย่างแท้จริง
    • พัฒนารูปแบบ กลไก และจัดทำข้อเสนอ (เช่น มาตรการ สิทธิประโยชน์ แรงจูงใจ และระบบทรัพย์สินทางปัญญา) เพื่อการส่งเสริมการนำผลงาน ววน. ไปสู่การใช้ประโยชน์
    • ออกแบบเครื่องมือและกลไกการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับหน่วยงานในระบบ ววน. เพื่อให้สามารถส่งมอบผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบได้ตามเป้าหมาย
    • ออกแบบเครื่องมือและกลไก ตลอดจนมาตรการสร้างแรงจูงใจเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านการบริหารจัดการงานวิจัยและนวัตกรรม (RDI Managers)
    • ขับเคลื่อนการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับหน่วยงานในระบบ ววน. ตลอดจนการขับเคลื่อนการพัฒนาบุคลากรด้าน RDI management โดยทำงานร่วมกับเครือข่ายหน่วยงานภายนอกทั้งในและต่างประเทศ
    • จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย และริเริ่มโครงการสำคัญ ที่บูรณาการความร่วมมือของหลายภาคส่วน
    • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
  5. สำนักกลยุทธ์และพัฒนากองทุน (FB5) ประกอบด้วยภารกิจ ดังนี้
    • วิเคราะห์เพื่อจัดทำกลยุทธ์การดำเนินงานกองทุน ให้ครอบคลุมอำนาจหน้าที่ และบรรลุวัตถุประสงค์ของกองทุน
    • ส่งเสริม และระดมเงินเข้ามาในกองทุน
    • เชื่อมโยง การร่วมให้ทุน และการส่งเสริมให้ลงทุนด้าน ววน. กับงบประมาณอื่นของภาครัฐ กองทุนเงินนอกงบประมาณ และเงินภาคเอกชน ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในต่างประเทศ
    • กำกับติดตามและบริหารกระแสเงินสดกองทุน
    • สรุปรายได้และเงินกองทุนคงเหลือประจำปี เพื่อประกอบการจัดทำแผนและงบประมาณกองทุน
    • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
  6. สำนักบริหารและพัฒนาองค์กร (FB6) ประกอบด้วยภารกิจ ดังนี้
    • จัดทำแผนกลยุทธ์องค์กร และขับเคลื่อนเพื่อแปลงมาสู่การพัฒนาองค์กรและสร้างนวัตกรรม รวมถึงมีการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายในที่เหมาะสม
    • พัฒนาระบบตัวชี้วัดและระบบกำกับดูแลภายในองค์กร ที่ตอบสนองตัวชี้วัดภาคบังคับภายนอก
    • ดูแลงานการจัดการความรู้ การบริหารนวัตกรรม และการบริหารระบบคุณภาพ (Quality Management) ของ สกสว.
    • พัฒนาแผนงาน ระบบงบประมาณ ระบบการเงินและการบัญชีของ สกสว.
    • สร้างระบบพัฒนาระบบคนและแรงจูงใจ รวมถึงสร้างสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมการสื่อสาร
    • พัฒนาระบบสารสนเทศเทคโนโลยีดิจิทัล
    • วิเคราะห์และพัฒนาฐานข้อมูลหลักสำหรับการสนับสนุนองค์กร (Data Architecture)
    • ปฏิบัติการงานกฎหมาย งานสัญญา งานคดี งานส่งเสริมจริยธรรมและธรรมาภิบาล
    • จัดระบบสนับสนุน ระบบการบริหารจัดการภายในและระบบเลขานุการคณะกรรมการ (ทั้ง กสว. และ อนก.) อย่างมีกลยุทธ์ และตอบสนองผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
    • บริหารงานพัสดุขององค์การ และงานการให้บริการกลาง เช่น ห้องสมุด สารบรรณ กายภาพ ยานพาหนะ วัสดุอุปกรณ์สำนักงาน ครุภัณฑ์ ฯลฯ รวมถึงการบริการอื่น ๆ ที่ไม่ได้กำหนดไว้เป็นงานของหน่วยงานใด
    • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
  7. กลุ่มภารกิจการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (O-Science) ประกอบด้วยภารกิจ ดังนี้
    • วิจัยเชิงระบบ (System Research) รวมถึงจัดทำ Foresight และ Scenario รายสาขาที่เกี่ยวกับการขับเคลื่อนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    • ประสานกับ Stakeholders เพื่อร่วมพัฒนาแผนงาน เป้าหมายและงบประมาณในด้านการขับเคลื่อนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงพัฒนาเนื้อหาเชิงวิชาการของแผนงานย่อยในด้านที่รับผิดชอบตามกรอบและแนวทางจากสำนักกลยุทธ์แผนและงบประมาณ
    • เป็นผู้ประสานหลักกับหน่วยงานรับงบประมาณในด้านที่รับผิดชอบ
    • วิเคราะห์ และกลั่นกรองคำของบประมาณตามหลักเกณฑ์ที่ กสว. และสำนักงบประมาณกำหนด (ร่วมกับสำนักกลยุทธ์แผนและงบประมาณ) ดูความสอดคล้องกับเกณฑ์การจ่ายเงิน
    • จัดทำหลักเกณฑ์ในการจัดลำดับความสำคัญ (Priority) ของแผนงานและแผนงบประมาณในการขับเคลื่อนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    • วิเคราะห์แผนปฏิบัติการของหน่วยงานหลังการปรับงบประมาณของรัฐสภา รวมถึงวิเคราะห์ Reprograming ที่เป็นแผนงานจากหน่วยงาน (Bottom-Up) ระหว่างปี
    • ติดตามการดำเนินงานและการใช้งบประมาณในสาขาที่เกี่ยวกับการขับเคลื่อนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    • วิเคราะห์ผลลัพธ์และผลกระทบ (outcome/impact) เทียบกับแผนรายสาขาที่เกี่ยวกับการขับเคลื่อนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    • จัดทำข้อเสนอและริเริ่มโครงการสำคัญ ที่บูรณาการความร่วมมือของหลายหน่วยรับงบประมาณที่เกี่ยวกับการขับเคลื่อนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
  8. กลุ่มภารกิจการพัฒนา ววน. ด้านความสามารถในการแข่งขัน (O-Competitiveness) ประกอบด้วยภารกิจ ดังนี้
    • วิจัยเชิงระบบ (System Research) รวมถึงจัดทำ Foresight และ Scenario รายสาขาที่เกี่ยวกับการขับเคลื่อนการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อความสามารถในการแข่งขัน
    • ประสานกับ Stakeholders เพื่อร่วมพัฒนาแผนงาน เป้าหมายและงบประมาณในด้านการขับเคลื่อนการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงพัฒนาเนื้อหาเชิงวิชาการของแผนงานย่อยในด้านที่รับผิดชอบตามกรอบและแนวทางจากสำนักกลยุทธ์แผนและงบประมาณ
    • เป็นผู้ประสานหลักกับหน่วยงานรับงบประมาณในด้านที่รับผิดชอบ
    • วิเคราะห์ และกลั่นกรองคำของบประมาณตามหลักเกณฑ์ที่ กสว. และสำนักงบประมาณกำหนด (ร่วมกับสำนักกลยุทธ์แผนและงบประมาณ) ดูความสอดคล้องกับเกณฑ์การจ่ายเงิน
    • จัดทำหลักเกณฑ์ในการจัดลำดับความสำคัญ (Priority) ของแผนงานและแผนงบประมาณในการขับเคลื่อนการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อความสามารถในการแข่งขัน
    • วิเคราะห์แผนปฏิบัติการของหน่วยงานหลังการปรับงบประมาณของรัฐสภา รวมถึงวิเคราะห์ Reprograming ที่เป็นแผนงานจากหน่วยงาน (Bottom-Up) ระหว่างปี
    • ติดตามการดำเนินงานและการใช้งบประมาณในสาขาที่เกี่ยวกับการขับเคลื่อนการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อความสามารถในการแข่งขัน
    • วิเคราะห์ผลลัพธ์และผลกระทบ (outcome/impact) เทียบกับแผนรายสาขาที่เกี่ยวกับการขับเคลื่อนการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อความสามารถในการแข่งขัน
    • จัดทำข้อเสนอและริเริ่มโครงการสำคัญ ที่บูรณาการความร่วมมือของหลายหน่วยรับงบประมาณที่เกี่ยวกับการขับเคลื่อนการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อความสามารถในการแข่งขัน
    • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
  9. กลุ่มภารกิจการพัฒนา ววน. ด้านสังคม สิ่งแวดล้อม เชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ (O-Inclusiveness) ประกอบด้วยภารกิจ ดังนี้
    • วิจัยเชิงระบบ (System Research) รวมถึงจัดทำ Foresight และ Scenario รายสาขาที่เกี่ยวกับการขับเคลื่อนการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสังคม สิ่งแวดล้อม เชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
    • ประสานกับ Stakeholders เพื่อร่วมพัฒนาแผนงาน เป้าหมายและงบประมาณในด้านการขับเคลื่อนการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสังคม สิ่งแวดล้อม เชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ รวมถึงพัฒนาเนื้อหาเชิงวิชาการของแผนงานย่อยในด้านที่รับผิดชอบตามกรอบและแนวทางจากสำนักกลยุทธ์แผนและงบประมาณ
    • เป็นผู้ประสานหลักกับหน่วยงานรับงบประมาณในด้านที่รับผิดชอบ
    • วิเคราะห์ และกลั่นกรองคำของบประมาณตามหลักเกณฑ์ที่ กสว. และสำนักงบประมาณกำหนด (ร่วมกับสำนักกลยุทธ์แผนและงบประมาณ) ดูความสอดคล้องกับเกณฑ์การจ่ายเงิน
    • จัดทำหลักเกณฑ์ในการจัดลำดับความสำคัญ (Priority) ของแผนงานและแผนงบประมาณในการขับเคลื่อนการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสังคม สิ่งแวดล้อม เชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
    • วิเคราะห์แผนปฏิบัติการของหน่วยงานหลังการปรับงบประมาณของรัฐสภา รวมถึงวิเคราะห์ Reprograming ที่เป็นแผนงานจากหน่วยงาน (Bottom-Up) ระหว่างปี
    • ติดตามการดำเนินงานและการใช้งบประมาณในสาขาที่เกี่ยวกับการขับเคลื่อนการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสังคม สิ่งแวดล้อม เชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
    • วิเคราะห์ผลลัพธ์และผลกระทบ (outcome/impact) เทียบกับแผนรายสาขาที่เกี่ยวกับการขับเคลื่อนการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสังคม สิ่งแวดล้อม เชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
    • จัดทำข้อเสนอและริเริ่มโครงการสำคัญ ที่บูรณาการความร่วมมือของหลายหน่วยรับงบประมาณที่เกี่ยวกับการขับเคลื่อนการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสังคม สิ่งแวดล้อม เชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
    • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
  10. กลุ่มภารกิจการพัฒนา ววน. ด้านกำลังคนและสถาบันความรู้ (O-Brain) ประกอบด้วยภารกิจ ดังนี้
    • วิจัยเชิงระบบ (System Research) รวมถึงจัดทำ Foresight และ Scenario รายสาขาที่เกี่ยวกับการพัฒนาคนและสถาบันความรู้ด้าน ววน.
    • ประสานกับ Stakeholders เพื่อร่วมพัฒนาแผนงาน เป้าหมายและงบประมาณในด้านที่รับผิดชอบ รวมถึงพัฒนาเนื้อหาเชิงวิชาการของแผนงานย่อยในด้านที่รับผิดชอบตามกรอบและแนวทางจากสำนักกลยุทธ์แผนและงบประมาณ
    • เป็นผู้ประสานหลักกับหน่วยงานรับงบประมาณในด้านที่รับผิดชอบ
    • วิเคราะห์ และกลั่นกรองคำของบประมาณตามหลักเกณฑ์ที่ กสว. และสำนักงบประมาณกำหนด (ร่วมกับสำนักกลยุทธ์แผนและงบประมาณ) ดูความสอดคล้องกับเกณฑ์การจ่ายเงิน
    • จัดทำหลักเกณฑ์ในการจัดลำดับความสำคัญ (Priority) ของแผนงานและแผนงบประมาณในการพัฒนาคนและสถาบันความรู้ด้าน ววน.
    • วิเคราะห์แผนปฏิบัติการของหน่วยงานหลังการปรับงบประมาณของรัฐสภา รวมถึงวิเคราะห์ Reprograming ที่เป็นแผนงานจากหน่วยงาน (Bottom-Up) ระหว่างปี
    • ติดตามการดำเนินงานและการใช้งบประมาณในสาขาที่เกี่ยวกับการพัฒนาคนและสถาบันความรู้ด้าน ววน.
    • วิเคราะห์ผลลัพธ์และผลกระทบ (outcome/impact) เทียบกับแผนรายสาขาที่เกี่ยวกับการพัฒนาคนและสถาบันความรู้ด้าน ววน.
    • จัดทำข้อเสนอและริเริ่มโครงการสำคัญ ที่บูรณาการความร่วมมือของหลายหน่วยรับงบประมาณที่เกี่ยวกับการพัฒนาคนและสถาบันความรู้ด้าน ววน.
    • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
  11. หน่วยข้อมูลและสำนักงานผู้อำนวยการ (U1) ประกอบด้วยภารกิจ ดังนี้
    • สนับสนุนการบริหารของผู้อำนวยการ เพื่อหนุนเสริมภาพรวมองค์กรให้ตอบสนองพันธกิจ กฎหมาย กลยุทธ์ ตัวชี้วัด เป้าหมายและความคาดหวังของระบบ ววน.
    • รับผิดชอบงานวิชาการ และสนับสนุนการใช้และนำส่งข้อมูลของผู้อำนวยการ ตลอดจนการตอบสนองข้อมูลหรือข้อเสนอรายประเด็นเร่งด่วน
    • กำกับและจัดการข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับระบบ ววน. ของไทยและต่างประเทศ และข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ สกสว. (รวมถึงข้อมูลประกอบการชี้แจงงบประมาณของผู้อำนวยการ)
    • รับผิดชอบงานธุรการ ประสานงานภายในภายนอก และสนับสนุนการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการ
    • ประสานงานกับหน่วยงานนโยบายอื่น ๆ (สภานโยบายฯ, กระทรวง อว., คณะรัฐมนตรี และรัฐสภา)
    • ประสานและพัฒนาระบบ Content Management Team :CMT เช่น การพัฒนาระบบ/หลักเกณฑ์ของ CMT การประสานงานและร้อยเรียงผลจากคณะทำงานการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาระบบ ววน. ฯลฯ)
    • จัดทำข้อเสนอเชิงกลยุทธ์ (Strategic Move) ของผู้อำนวยการที่ตอบสนองทันเหตุการณ์
    • สื่อสารและประชาสัมพันธ์กองทุนเชิงกลยุทธ์ รวมถึงดำเนินการสร้างภาพลักษณ์และสื่อสารสาธารณะที่ครอบคลุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของระบบ ววน.
    • สื่อสารและสร้างภาพลักษณ์ขององค์กร
  12. หน่วยงานตรวจสอบภายใน (U2) ประกอบด้วยภารกิจ ดังนี้
    • ตรวจสอบการดำเนินงานของ สกสว. ในด้านการบริหารจัดการ การงบประมาณ การเงิน การบัญชี หลักฐานเอกสารเพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องและสอดคล้องกับแผนงานโครงการและนโยบาย  
    • ตรวจสอบหน่วยงานรับงบประมาณ เพื่อให้เป็นไปตามหลักการตรวจสอบภายใน
    • ให้คำปรึกษาแนะนำ การปฏิบัติงานให้เป็นไปตามระเบียบ และกฎหมายการตรวจสอบภายในที่เกี่ยวข้อง
    • รายงานผลการปฏิบัติงาน ปัญหาข้อบกพร่องที่พบและเสนอแนวทางการป้องกันแก้ไขต่อผู้อำนวยการโดยเร็ว
    • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

รู้จัก สกสว.











Share

icon image icon image icon image

Telephone

02 278 8200

E-mail Us
  • [email protected]
  • [email protected] (ส่งหนังสือราชการ)
Follow Us
Address

ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

จัดสรรงบประมาณ

  • เสนอคำขอจัดสรรงบประมาณ
  • ประกาศผลการจัดสรรงบประมาณ
  • หลักเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณ
  • การติดตามและประเมินผล
  • การจัดสรรงบประมาณกองทุนส่งเสริม ววน. ปี 2565
  • คลังคำศัพท์ในระบบ ววน.
  • รายงานการขอรับจัดสรรทุนวิจัย (หน่วยงาน)
  • ระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (NRIIS)

รู้จัก สกสว.

  • รู้จัก สกสว.
  • ค่านิยมของ สกสว.
  • คณะผู้บริหาร สกสว.
  • คณะกรรมการ
  • ธรรมาภิบาลและความโปร่งใส
  • แจ้งเรื่องร้องเรียน
  • เสนอแนะความคิดเห็น
  • การใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
  • การดำเนินงานประจำปี
  • ข้อมูลที่สำคัญของ สกสว.
  • ข้อมูล สกสว. ใน Wikipedia

แหล่งความรู้จาก สกว.

  • Research Cafe
  • งานวิจัยฉบับสมบูรณ์ E-Library
  • วารสารประชาคมวิจัยและนวัตกรรม
  • สื่อสิ่งพิมพ์
  • ศูนย์ดาวน์โหลด
  • วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่

บริการ

  • ข่าวประชาสัมพันธ์
  • ข่าวรับสมัครงาน
  • ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
  • ศูนย์ดาวน์โหลด
  • ดาวน์โหลดตราสัญลักษณ์ สกสว.
  • ข้อมูลเปิดโครงการวิจัยฉบับสมบูรณ์ (E-Library)
  • เข้าสู่เว็บไซต์เก่า (www.trf.or.th)

COPYRIGHT © 2022 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล