ประกาศ สกสว.
ประกาศ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เรื่อง ผลการประกวดรางวัลผลงานวิจัยแห่งชาติที่มีผลกระทบสูง ประจำปี 2565 Prime Minister’s TRIUP Award for Research Utilization with High Impact 2022

ประกาศ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
เรื่อง ผลการประกวดรางวัลผลงานวิจัยแห่งชาติที่มีผลกระทบสูง ประจำปี 2565
Prime Minister’s TRIUP Award for Research Utilization with High Impact 2022
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้จัดการประกวดรางวัลผลงานวิจัยแห่งชาติที่มีผลกระทบสูง ประจำปี 2565 Prime Minister’s TRIUP Award for Research Utilization with High Impact 2022 เพื่อยกย่องและสร้างความตระหนักในคุณค่าของผลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม ซึ่งสร้างผลกระทบสูง ต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสร้างความรู้ความเข้าใจ และสื่อให้เห็นความสำคัญของลักษณะที่แตกต่างระหว่างเทคโนโลยีขั้นสูง (Deep Technology) และเทคโนโลยีที่เหมาะสม (Appropriate Technology) อันเป็นผลจากการพัฒนางานวิจัยที่มุ่งเป้าสู่การใช้ประโยชน์การแก้ไขปัญหาสำคัญ หรือการพัฒนาประเทศ ตามความประสงค์ของการสร้าง พ.ร.บ. ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม
บัดนี้ สกสว. ได้พิจารณาตัดสินรางวัลฯ ผลงานที่ส่งเข้าประกวดทั้งหมด 119 ผลงาน เสร็จสิ้นแล้ว ตามที่ได้ประกาศเกณฑ์การพิจารณาผลงาน ด้วยวิธีการลงคะแนนร่วมกับการอภิปรายความคิดเห็นของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาต่างๆ จำนวน 19 ท่าน ซึ่งปรากฏผลการประกวดดังนี้
- สาขาเทคโนโลยีที่เหมาะสม (Appropriate Technology)
- รางวัลระดับยอดเยี่ยม ได้แก่ผลงาน “เทคโนโลยีและการถ่ายทอดความรู้เพื่อการจัดการโรคอุบัติใหม่สำหรับฟาร์มปลานิลและปลานิลแดงในประเทศไทยและต่างประเทศ” ได้รับโล่รางวัลและใบประกาศเกียรติคุณจากนายกรัฐมนตรี และเงินรางวัลจากกองทุนส่งเสริม ววน. จำนวน 500,000 บาท โดยมีรายนามผู้วิจัย ดังนี้
- รศ.น.สพ.ดร.วิน สุรเชษฐพงษ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (หัวหน้าโครงการ)
- นางสาวปุณธนาฒย์ ทัตติยพงศ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- นางสาวจิดาภา แย้มเกษม คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- นางสาวเมธปิยา เข็มทอง คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- สพ.ญ.ดร.สิริกร กิติโยดม คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ดร.ธีรพงศ์ ยะทา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- รางวัลระดับดี ได้แก่ผลงาน “ข้าวพันธุ์ใหม่จากเทคโนโลยีลำไอออนเพื่อเพิ่มผลผลิตให้กับเกษตรกรไทย” ได้รับใบประกาศเกียรติคุณจากประธาน กสว. และเงินรางวัลจากกองทุนส่งเสริม ววน. จำนวน 100,000 บาท โดยมีรายนามคณะผู้วิจัย ดังนี้
- ดร.จิรณัทฐ์ เตชะรัง สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (หัวหน้าโครงการ)
- ดร.บุญรักษ์ พันธ์ไชยศรี ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- รางวัลระดับดี ได้แก่ผลงาน “แพลตฟอร์มบริหารจัดการปัญหาเมืองผ่านระบบพูดคุยอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์” ได้รับใบประกาศเกียรติคุณจากประธาน กสว. และเงินรางวัลจากกองทุนส่งเสริม ววน. จำนวน 100,000 บาท โดยมีรายนามคณะผู้วิจัย ดังนี้
- ดร.วสันต์ ภัทรอธิคม ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สวทช. (หัวหน้าโครงการ)
- นายณพงศ์ วาณิชยพงศ์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สวทช.
- นายอรรถพล ก้อมมังกร ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สวทช.
- นายนพปฎล ชะฎิล ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สวทช.
- นายสุเมธ ปานกวีรัตน์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สวทช.
- นายกมนัช พรหมบำรุง ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สวทช.
- นายก้องเกียรติ คันทะศรี ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สวทช.
- นายธนโชติ ทับทิม ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สวทช.
- นายปิติภูมิ โพสาวัง ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สวทช.
- นายภาณวิชญ์ หาญพินิจศักดิ์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สวทช.
- รางวัลระดับยอดเยี่ยม ได้แก่ผลงาน “เทคโนโลยีและการถ่ายทอดความรู้เพื่อการจัดการโรคอุบัติใหม่สำหรับฟาร์มปลานิลและปลานิลแดงในประเทศไทยและต่างประเทศ” ได้รับโล่รางวัลและใบประกาศเกียรติคุณจากนายกรัฐมนตรี และเงินรางวัลจากกองทุนส่งเสริม ววน. จำนวน 500,000 บาท โดยมีรายนามผู้วิจัย ดังนี้
- สาขาเทคโนโลยีขั้นสูง (Deep Technology)
- รางวัลระดับยอดเยี่ยม -ไม่มีผู้ได้รับรางวัล-
- รางวัลระดับดี ได้แก่ผลงาน “การพัฒนาพื้นลู่ลานกรีฑา สนามกีฬา และลานอเนกประสงค์จากยางธรรมชาติ” ได้รับใบประกาศเกียรติคุณจากประธาน กสว. และเงินรางวัลจากกองทุนส่งเสริม ววน. จำนวน 100,000 บาท โดยมีรายนามคณะผู้วิจัย ดังนี้
- ดร.อรสา อ่อนจันทร์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ (หัวหน้าโครงการ)
- ดร.อรวรรณ ปิ่นประยูร กรมวิทยาศาสตร์บริการ
- ดร.กาจพันธ์ สกุลแก้ว กรมวิทยาศาสตร์บริการ
- นางสาวภัณฑิลา ภูมิระเบียบ กรมวิทยาศาสตร์บริการ
- นางนิชาภา บัวสุวรรณ กรมวิทยาศาสตร์บริการ
- นายประเสริฐ แซ่จู กรมวิทยาศาสตร์บริการ
- นางสาวศิริพร ช้างน้อย กรมวิทยาศาสตร์บริการ
- นางสาวอาภัสพร สุดา กรมวิทยาศาสตร์บริการ
- นางสาวนาวิกา บัวผัน กรมวิทยาศาสตร์บริการ
- นางสาวภาวดี ศรีโยธา กรมวิทยาศาสตร์บริการ
- รางวัลระดับดี ได้แก่ผลงาน “ปุ๋ยคีเลตธาตุอาหารเพื่อเร่งการเจริญของพืช” ได้รับใบประกาศเกียรติคุณจากประธาน กสว. และเงินรางวัลจากกองทุนส่งเสริม ววน. จำนวน 100,000 บาท โดยมีรายนามคณะผู้วิจัย ดังนี้
- ดร.คมสันต์ สุทธิสินทอง ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช. (หัวหน้าโครงการ)
- นายณรงค์พล แก้วจังหวัด ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช.
- นางอรุณศรี งามอรุณโชติ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช.
- รางวัลระดับดี ได้แก่ผลงาน “ลวดจัดฟันวัสดุฉลาดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดฟันของคนไทย” ได้รับใบประกาศเกียรติคุณจากประธาน กสว. และเงินรางวัลจากกองทุนส่งเสริม ววน. จำนวน 100,000 บาท โดยมีรายนามคณะผู้วิจัย ดังนี้
- รศ.ดร.อนรรฆ ขันธะชวนะ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ บริษัท สมาร์ทแมท อินโนเวชั่น จำกัด (หัวหน้าโครงการ)
- นายทวีศักดิ์ เลิศเธียรดำรง บริษัท สมาร์ทแมท อินโนเวชั่น จำกัด
- ผศ.ดร.ณัฐชัย พงษ์ประเสริฐ คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- ผศ.ดร.ทพ. พีระพงศ์ สันติวงศ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
โดยจะจัดให้มีพิธีมอบรางวัลฯ ในช่วงพิธีเปิดงาน “มหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย” ในวันจันทร์ที่ 4 เมษายน 2565 เวลา 8.00 – 10.45 น. และเวทีเสวนา “Tech Talk: การนำเสนอเทคโนโลยีเด่นที่สร้างผลกระทบสูง ในสาขา Deep Technology และ Appropriate Technology” โดยผู้ได้รางวัลฯ เวลา 15.00-15.50 น. ณ Mitrtown Hall 1-2 ชั้น 5 สามย่านมิตรทาวน์ และจะติดต่อผู้ที่ได้รับรางวัล เพื่อเข้าร่วมในพิธีมอบรางวัลฯ ต่อไป
ประกาศ ณ วันที่ 30 มีนาคม 2565
(รองศาสตราจารย์ ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล)
ผู้อำนวยการ
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
เอกสารแนบ

