พระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม
สรุปสาระสำคัญ : ระเบียบสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรรมแก่ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมเพื่อให้นำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ พ.ศ. 2563



ใจความสำคัญ
- หน่วยบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรม (PMU: Pragram Management Unit) สามารถใช้ระเบียบนี้ ใช้กับการให้ทุนแก่ภาคเอกชนและประชาสังคมได้ โดยแจ้งให้ สอวช. ทราบเพื่อนำเสนอต่อสภานโยบาย ฯ
- กรณีหน่วยบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรม (PMU: Pragram Management Unit) ร่วมกับภาคเอกชนให้ทุนวิจัยแก่ ภาคเอกชนและประชาสังคม เพื่อนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ สามารถทำได้โดยมีหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่ตกลงกันในโครงการนั้น **** เอกชนร่วมให้ทุนไม่น้อยกว่าครึ่งนึงของทุนเต็ม
คุณลักษณะของโครงการวิจัยและนวัตกรรมที่ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนตามระเบียบนี้
- มีความจำเป็นทางเศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคง สามารถเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคผลิตและบริการของประเทศ
- เป็นโครงการที่สามารถสร้างความรู้ใหม่ ยกระดับนวัตกรรม ปรับปรุงกระบวนการผลิต ลดการนำเข้าเทคโนโลยีและมีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ
- มีความเป็นไปได้สูงที่จะสามารถขยายผลสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และสังคม
- ส่งเสริมการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนหรือวิชาสหกิจเพื่อสังคมให้สามารถดำเนินการในเชิงพาณิชย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ส่งเสริมการนำทรัพย์สินทางปัญญาในรูปแบบต่าง ๆ แต่ไม่ขัดต่อกฏหมายทรัพย์สินทางปัญญา นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อต่อยอดความรู้และเทคโนโลยี
- ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน ยกระดับคุณภาพชีวิต
- ลักษณะอื่น ๆ ตามที่สภานโยบายฯ กำหนด
ประเภททุนที่จะสนับสนุนโครงการตามระเบียบนี้ มีดังนี้
- ทุนอุดหนุนแบบให้เปล่าทั้งหมด (Grant)
- ทุนอุดหนุนแบบให้เปล่าบางส่วน (Matching Grant)
- ทุนอุดหนุนแบบกาหนดเงื่อนไขการใช้คืน (Recoverable Grant)
- ทุนอุดหนุนเป็นเงินให้กู้ยืมแบบมีกาหนดระยะเวลาชาระคืน (Loans)
- ทุนอุดหนุนแบบอื่นตามที่ผู้ให้ทุนกำหนด
***** ทุนที่จะให้เพื่อส่งเสริมและสนับสนุน ผู้ให้ทุนสามารถให้ทุนตามข้อเสนอโครงการทั้งหมดหรือบางส่วน ตามที่เห็นสมควร *****


การพิจารณาให้ทุน
“กรณีหน่วยงานผู้ให้ทุนมีคณะกรรมการบริหารหรือคณะบุคคล ให้คณะกรรมการนั้นเป็นผู้พิจารณาให้ทุน แต่ในกรณีที่ไม่มีคณะกรรมการบริหาร ให้แต่งตั่งผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และประสบการณ์งานวิจัยและนวัตกรรมในด้านนั้นเป็นผู้พิจารณา แต่ต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย”
คณะกรรมการพิจารณาให้ทุน มีอำนาจดังนี้
- จัดทำกรอบและแนวทางการสนับสนุนเงินทุน บุคลากร หรือทรัพยากรอื่นให้แก่โครงการของผู้รับทุนที่สอดคล้องกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนด้าน อววน. ของประเทศ และสอดคล้องกับพันธกิจของผู้ให้ทุน
- อนุมัติทุนเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการดาเนินงานโครงการของผู้รับทุน รวมทั้งพิจารณาเสนอแนะหรือให้คาปรึกษาแก่ผู้ให้ทุนในการวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้น
- เสนอแนะหรือให้คำปรึกษาแก่ผู้ให้ทุนเกี่ยวกับมาตรการ หรือแนวทางการจัดหาระดมทุนสำหรับใช้ในการสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ
- ประเมินผลโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุน
- แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ
- ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่ผู้ให้ทุนได้รับมอบหมาย
การพิจารณาอนุมัติทุนต้องคำนึงถึงประเด็นดังต่อไปนี้
- พิจารณาสนับสนุนโครงการที่สามารถพัฒนาต่อยอดเพื่อให้เกิดประโยชน์เศรษฐกิจและสังคม สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์
- สนับสนุนโครงการที่ผู้รับทุนมีศักยภาพและความสามารถในการบริหารจัดการโครงการได้ตามวัตถุประสงค์
- พิจารณาสนับสนุนโครงการที่ไม่เคยได้รับทุนในโครงการลักษณะเดียวกันจากแหล่งทุนอื่น ยกเว้นเป็นโครงการต่อยอด
- ในกรณีที่ผู้รับทุนเป็นบุคคลหรือหน่วยงานภาคเอกชน ยื่นข้อเสนอโครงการลักษณะเดียวกันเพื่อขอรับการสนับสนุนทุนจากผู้ให้ทุน ให้พิจารณาสนับสนุนผู้รับทุนซึ่งมีลักษณะเป็น Startup วิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจเพื่อสังคม วิสาหกิจขนาดกลางหรือขนาดย่อมผู้ประกอบการขนาดเล็ก หรือนิติบุคคลเอกชนที่ไม่แสวงหากำไรที่จัดตั้งและดำเนินงานในประเทศที่มีศักยภาพในการสร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่สามารถนำไปสร้างธุรกิจและเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชนก่อน
การขอรับทุนและการดำเนินโครงการ
“ผู้ขอรับทุนเป็นหน่วยงานเอกชนหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง หรือ รวมกันหลายหน่วยงาน (consortium) สามารถยื่นขอรับทุนสนับสนุนตามระเบียบนี้ได้”
***** ผู้ขอรับทุนเป็นหน่วยงานเอกชนที่จะยื่นข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับทุน จะต้องเป็นนิติบุคคลที่มีผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยถือหุ้นอยู่ด้วยไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียนและมีสถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศไทย เว้นแต่ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อสร้างขีดความสามารถของประเทศ หรือเพื่อประโยชน์ในการถ่ายทอดเทคโนโลยี *****
คุณสมบัติของผู้ขอรับทุนเป็นหน่วยงานภาคเอกชน
ต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
- เป็นนิติบุคคลไม่แสวงหากำไร เช่น มูลนิธิ สหกรณ์
- เป็นกลุ่มกิจการเพื่อสังคม หรือวิสาหกิจเพื่อสังคม
- เป็นวิสาหกิจชุมชน
- เป็นองค์กรชุมชน
- เป็นชุมชน กลุ่ม หรือคณะบุคคลอื่นตามที่ผู้ให้ทุนประกาศกำหนด
“ผู้รับทุนต้องไม่นำข้อเสนอโครงการที่ได้รับทุนจากผู้ให้ทุนไปขอทุนจากแหล่งทุนอื่นอีก เว้นแต่จะเป็นการขอทุนเพื่อต่อยอดหรือขยายโครงการเพิ่มเติมและจำเป็นต้องหาทุนสนับสนุนจากแหล่งอื่น และจะต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ให้ทุนก่อน”
คำรับรองการปฏิบัติตามเงื่อนไขในการให้ทุนอย่างน้อยต้องประกอบด้วย
- วัตถุประสงค์ของโครงการ
- ขอบเขตของโครงการ
- ระยะเวลาของโครงการ
- กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ใช้ในการดำเนินงานโครงการและการส่งมอบทรัพย์สินดังกล่าว
- หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้รับทุนในการดำเนินโครงการ
- ความเป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรม และสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดจากผลงานวิจัยและนวัตกรรม
- การใช้ประโยชน์และการแบ่งปันผลประโยชน์ตอบแทนจากความเป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรม และสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดจากผลงานวิจัยและนวัตกรรม
- เงื่อนไขอื่นตามที่ผู้ให้ทุนกำหนด
การติดตามและประเมินผลโครงการ
ผู้ให้ทุนต้องจัดให้มีระบบการประเมินโครงการที่รับทุน ดังต่อไปนี้
- การประเมินระหว่างดำเนินโครงการหรือเมื่อปิดโครงการโดยคณะผู้ทรงคุณวุฒิ
- การประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการซึ่งดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วว่าบรรลุวัตถุประสงค์ของการให้ทุนหรือไม่ เพียงใด
ผลงานวิจัยและนวัตกรรมและการนำไปใช้ประโยชน์
- ความเป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรม รวมถึงสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาภายใต้โครงการที่ได้รับทุน เป็นของผู้ให้ทุน เว้นแต่ในกรณีที่ผู้รับทุนได้จัดสรรเงินทุนสนับสนุนให้แก่โครงการด้วย ให้ความเป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรมและสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาภายใต้โครงการดังกล่าวเป็นไปตามที่ผู้ให้ทุนและผู้รับทุนตกลงกัน”
- ในกรณีที่ผู้รับทุนประสงค์จะเป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรมและสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดจากผลงานวิจัยและนวัตกรรม ผู้รับทุนจะต้องยื่นคำขอเป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมทั้งเสนอแผนการใช้ประโยชน์และการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นต่อผู้ให้ทุนภายในเวลาที่ผู้ให้ทุนกำหนด
- ผู้ให้ทุนต้องออกหนังสือรับรองความเป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรม โอนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดจากผลงานวิจัยและนวัตกรรมให้แก่ผู้รับทุน
- การเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของโครงการจะต้องได้รับอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ให้ทุน
- กรณีที่ผู้รับทุนไม่ผ่านการประเมิน หรือไม่ปฏิบัติตามคำรับรอง ผู้ให้ทุนสมารถยุติโครงการได้ โดยแจ้งให้ผู้รับทุนทราบ *** หากผิดร้ายแรง ผู้รับทุนต้องคืนทุนที่ได้รับไปทั้งหมดให้แก่ผู้ให้ทุน


เอกสารแนบ

